วันจันทร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

วิธีการใช้ถ้อยคำ


วิธีการใช้ถ้อยคำการใช้ถ้อยคำสำนวนให้มีประสิทธิผล คือ การใช้ถ้อยคำสำนวนที่ทำให้ผู้ฟังเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตรงตามความมุ่งหมายของเรา ซึ่งเราจะทำได้เช่นนี้ก็ต่อเมื่อเรามีความรู้ความเข้าใจในเรื่องถ้อยคำสำนวน และฝึกฝนการใช้อย่างมากพอจุดมุ่งหมายสำคัญที่สุดของการใช้ถ้อยคำคือช่วยสื่อสารกันได้อย่างมีประสิทธิผล ทั้งนี้เราต้องเข้าใจความหมายของถ้อยคำ และวิธีการใช้ถ้อยคำ

ความหมายของถ้อยคำ
1.1 ความหมายเฉพาะของคำ อาจมีได้หลายความหมาย แยกพิจารณาได้ 2 ทาง คือ ความหมายตามตัวกับความหมายเชิงอุปมาคำหลายคำที่มีความหมายเต็มตัว และความหมายเชิงอุปมา เช่น ดาวล้อมเดือน ความหมายตามตัวคือดวงดาวล้อมรอบดวงเดือน บนท้องฟ้า ความหมายเชิงอุปมาหมายถึงคนที่เป็นบริวารบุคคลที่เด่นที่สุด ณ ที่นั้นความหมายนัยตรงกับความหมายนัยประหวัดความหมายนัยตรงคือความหมายที่ปรากฎในพจนานุกรม ความหมายในประหวัด ความหมายที่จิตประหวัดคิดไปถึงเมื่อได้ยินคำนั้น เช่น น้อยหน่า ความหมายนัยตรงคือผลไม้ชนิดหนึ่งความหมายนัยประหวัดคือลูกระเบิด
1.2 ความหมายเทียบเคียงกับคำอื่นความหมายเหมือนกัน หรือ คำไวยพจน์ เช่น กิน หม่ำ เสวย ฉัน รับประทาน คำนี้ถึงแม้จะมี ความหมายเหมือนกันแต่ก็ใช้แทนกันไม่ได้ทุกบริบท ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระดับภาษา เราต้องพิจารณาเลือกใช้ให้เหมาะสมกับความนิยมในภาษาความหมายตรงข้ามกัน เช่นวิสิงหา - อหิงสา, แฟบ - ฟู, นางฟ้า - ซาตาน, ตื้น - ลึกความหมายร่วมกัน คือมีความหมายส่วนหนึ่งเหมือนกันอีกส่วนหนึ่งต่างกัน เช่น เฉือน ปาด สับ แล่ เจียน ฝาน เฉาะ คว้าน ตัด หั่น มีความหมายส่วนหนึ่งเหมือนคือทำให้ขาดด้วยของมีคม แต่ความหมายส่วนหนึ่งต่างกันคือ เฉือน : เชือดแบ่งเอาแต่บางส่วน ปาด : เอาส่วนที่ไม่ต้องการออกโดยวิธีฝานบาง ๆ สับ : เอาของมีคมฟันลงไปโดยแรงหรือซอยถี่ ๆ ความหมายแคบกว้างต่างกัน เช่น พืช เป็นคำที่ความหมายกว้างกว่าผัก ผัก เป็นคำที่ความหมายกว้างกว่า ผักกาด ผักชี ผักคะน้า เป็นต้น

วิธีการใช้ถ้อยคำการใช้ถ้อยคำให้ตรงตามความหมาย
1.คำที่อาจมีความหมายได้ทั้งนัยตรงและนัยประหวัด ให้ใช้บริบทช่วยบ่งลงไปใช้ชัดเจนว่าต้องการใช้คำนั้นในความหมายนัยใด
2.คำที่ทำให้คนเข้าใจความหมายได้มากกว่า 1 ความหมาย (คำกำกวม)เวลาใช้ต้องระวัง หากจำเป็นควรเติมคำบางคำลงไปเพื่อบ่งความหมายของคำนั้นให้ชัดเจนว่าต้องการใช้ในความหมายใด เช่น เก๋ง ควรใช้ รถเก๋ง เก๋งจีน ให้ชัดเจน
3.คำที่มีความหมายคล้ายคลึงกันหรือมีความหมายร่วมกัน ต้องระวังเลือกใช้ให้แม่นตรงความต้องการ เช่น กล้วยย่าง กล้วยเผา ความหมายไม่เหมือนกัน
4.คำที่มีความหมายเกี่ยวเนื่องกับคำอื่น เช่น คำบุพบททักษณะนาม กริยาช่วย สรรพนาม วิเศษณ์ ที่แสดงการชี้เฉพาะ (นี่, นั่น, โน่น) ต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมการใช้คำให้ตรงตามความนิยมของผู้ใช้ภาษาเดียวกัน คำที่มีความหมายเดียวกัน จะเลือกใช้คำใดแล้วแต่ความนิยม ของผู้ใช้ภาษานั้น เช่น ชุมชนแออัด การจราจรคับคั่ง ผู้คนแน่นขนัด ประชากรหนาแน่นการใช้คำให้เหมาะกับกาลเทศะและบุคคล การใช้ภาษาให้มีประสิทธิผลนั้นนอกจากจะคำนึงถึงความหมายแล้วยังต้องคำนึงถึงระดับภาษาที่ใช้ ให้เหมาะแก่เวลา สถานที่ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล สื่อที่ใช้ในการส่งสาร และควรคำนึงถึงฐานะ ทางบุคคลซึ่งเกี่ยวข้องกับคำสุภาพและราชาศัพท์ด้วยการใช้คำไม่ซ้ำซากจำเจ ถ้าไม่ต้องการเน้นคำใดเป็นพิเศษ ไม่ควรใช้คำนั้นซ้ำหลายครั้งในที่ใกล้กันิ เพราะจะทำให้เกิด การซ้ำคำควรใช้การหลากคำให้เหมาะสมการใช้คำให้เห็นภาพ คือการใช้คำขยายให้เหมาะสมเมื่อเราต้องการแสดงภาพของสิ่งใดให้ผู้รับสารได้ภาพตรงตามภาพในใจของเรา เช่น ผมดำขลับ เมฆดำทะมึน คำขยายเหล่านี้ในภาษาระดับทางการขึ้นไป จะใช้มาก หรือ จัด เท่านั้น

การใช้สำนวนสำนวน หมายถึง ถ้อยคำที่ผูกไว้ตายตัว สลับที่กันหรือตัดคำใดออกไม่ได้ อาจต้องตีความก่อนจึงจะเข้าใจความหมายของ สำนวนนั้นสำนวนมีความหมายครอบคลุมไปถึง คำพังเพย ภาษิต และสุภาษิตเมื่อพิจารณาสำนวนไทยแล้ว จะเห็นได้ว่ามีลัก ษณะเด่นสรุปดังนี้
1. เป็นถ้อยคำที่มีคารมคมคาย กินใจผู้ฟัง
2. ใช้คำกระทัดรัด ไฟเราะรื่นหู
3. ถ้ามีสองวรรค จะมีดุลของเสียงและความหมาย

การพิจารณาสำนวนไทย

1.1 สำนวนที่มีเสียงสำผัส มีจำนวนคำ 4 คำขึ้นไปจนถึง 12 คำ มีทั้งที่ประกอบกันเป็นกลุ่มคำและประโยคที่เป็นกลุ่ม คำ เช่น คลุกคลีตีโมง, นกมีหูหนูมีปีก, ข้าวเหลือเกลืออิ่ม เป็นต้น
1.2 สำนวนที่ไม่มีเสียงสำผัส มีจำนวนคำ 2 คำขึ้นไปจนถึง 8 คำมีทั้งที่ประกอบกันเป็นคำ กลุ่มคำและประโยค เป็นคำ ในลักษณะคำประสม เช่น ตายใจ คว้าน้ำเหลว สร้างวิมานในอากาศ นกยูงย่อมมีแววที่หางการใช้สำนวนไทยให้มีประสิทธิผล ต้องใช้ให้เหมาะแก่กาลเทศะและสถานการณ์ เช่นในสถานการณ์ที่ต้องพูดหว่าล้อมจูงใจผู้คนให้เขาทำตามที่เราต้องการ ใช้สำนวนว่า ชักแม่น้ำทั้งห้า เช่น ลูก ๆ ชักแม่น้ำทั้งห้าให้คุณแม่เห็นประโยชน์ของการไปพักผ่อนสุดสัปดาห์จนคุณแม่ใจอ่อน รับปากว่าจะพาไปหัวหินเสาร์อาทิตย์นี้



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น