วันจันทร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

เสียงในภาษาไทย


เสียงในภาษาไทย
1.เสียงสระหรือเสียงแท้

1.1สระเดี่ยวหรือสระแท้ สระเดี่ยวหรือสระแท้ 18 เสียงนี้ประกอบด้วยสระเสียงสั้น (รัสสระ) และสระเสียงยาว (ทีฆสระ) แบ่งเป็นแบบละ 9 คู่

1.2สระประสมหรือสระเลื่อน สระประสมหรือสระเลื่อนที่เป็นสระเสียงสั้น คือ สระเอียะ เอือะ อัวะ ในภาษาไทยมีที่ใช้น้อยมาก และเป็นคำเลียนเสียงธรรมชาติ


2.เสียงพยัญชนะหรือเสียงแปร เสียงพยัญชนะหรือเสียงแปร คือ เสียงที่เกิดจากลมที่ออกจากปอด ผ่านหลอดลม แล้วถูกทำให้ผ่านที่แคบตรงฐานที่เกิดของเสียง เกิดเป็นเสียงพยัญชนะ

2.1เสียงพยัญชนะต้น เป็นเสียงพยัญชนะที่เกิดที่ต้นพยางค์ ในภาษาไทยมีเสียงพยัญชนะต้นที่เป็นเป็นเสียงพยัญชนะเดี่ยวทั้งหมด 21 เสียง มีฐานที่เกิดของเสียงและลักษณะการเปล่งเสียง

2.2เสียงพยัญชนะท้าย หรือเสียงพยัญชนะสะกดมี 9 เสียง จำแนกตามประเภทของเสียงเป็น 3 ประเภท

1.เสียงกัก – ไม่มีกลุ่มลม – ไม่ก้อง มี 4 เสียง

2.เสียงนาสิก มี 3 เสียง

3.เสียงอัฒสระ มี 2 เสียง


3.เสียงวรรณยุกต์หรือเสียงดนตรี

3.1พยางค์ที่ไม่มีรูปวรรณยุกต์กำกับ

1.พยัญชนะต้นเป็นอักษรกลางคืออักษรสูง

2.พยัญชนะต้นเป็นอักษรต่ำ


3.2พยางค์ที่ไม่มีวรรณยุกต์

1.อักษรกลาง คำเป็น เช่น กัน ปราง เสียงสามัญ คำตาย เช่น กัด ปราบ เสียงเอก

2.อักษรสูง คำเป็น เช่น ขา ขวาง เสียงจัตวา คำตาย เช่น ขะ ขวาก เสียงเอก

3.อักษรต่ำ คำเป็น เช่น ควัน นาม เสียงสามัญ คำตาย เช่น คะ คัด เสียงตรี และ คาด แนบ เสียงโท


พยางค์
เสียงสระ เสียงพยัญชนะ และเสียงวรรณยุกต์ ประกอบเป็นพยางค์

พยางค์เปิด คือ พยางค์ที่ไม่มีเสียงพยัญชนะท้าย

พยางค์ปิด คือ พยางค์ที่มีเสียงพยัญชนะท้าย 9 เสียง

โครงสร้างของพยางค์
ในการพิจารณาโครงสร้างของพยางค์

1.พยางค์เปิด หรือ พยางค์ปิด

2.เสียงพยัญชนะต้น เป็นเสียงพยัญชนะเดี่ยว หรือ เสียงพยัญชนะประสม

3.เสียงสระ เป็นสระเสียงเดี่ยว หรือ เสียงสระประสม เสียงสระสั้น หรือ สระเสียงยาว

4.เสียงวรรณยุกต์ เป็นเสียงสามัญ เอก โท ตรี จัตวา เสียงวรรณยุกต์ระดับ หรือ เปลี่ยนระดับ


เสียงหนักเสียงเบา
1.ลักษณะส่วนประกอบของพยางค์ เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับครุ – ลหุดังนี้

พยางค์เปิด สระเสียงสั้น เป็นลหุ คือ เสียงเบา

พยางค์เปิด สระเสียงยาว และพยางค์ปิด เป็นครุ คือ เสียงหนัก

2.ตำแหน่งของพยางค์ในคำ คำสองพยางค์ ลงเสียงหนักที่พยางค์ท้าย คำหลายพยางค์ ลงเสียงหนักที่พยางค์ท้าย

3.ชนิดและหน้าที่ของคำในประโยค คำพยางค์เดียวและเป็นคำสำคัญในประโยค คือ คำนาม คำกริยา คำวิเศษณ์ที่ใช้ประกอบหลังคำนามหรือคำกริยา เน้นเสียงหนัก คำสรรพนาม คำบุพบท คำสันธาน คำวิเศษณ์ที่ใช้ประกอบหน้าคำกริยา มักไม่เน้นเสียงหนัก

4.เจตนาของผู้ส่งสาร ผู้ส่งสารอาจจะเลือกเน้นคำหนึ่งคำใดในประโยคเพื่อให้ผู้รับสารสนใจ หรือเพื่อแฝงบางอย่างเป็นพิเศษ



อักษร
อักษร คือ เครื่องหมายใช้แทนเสียง อักษรไทยมีรูปสระ 21 รูป พยัญชนะ 44 รูป และรูปวรรณยุกต์ 4 รูป
ข้อน่าสังเกตเกี่ยวกับเสียงและอักษรในภาษาไทย
1.การออกเสียงไม่ตรงกับรูปเขียน

1.1เสียงสระสั้น – ยาว เมื่อออกเสียงเน้นหนักเสียงสระจะยาวกว่าเสียงไม่เน้นหนัก

1.2เสียงวรรณยุกต์ พยางค์ที่ไม่ลงเสียงเน้นหนัก นอกจากเสียงสระจะสั้นลงแล้ว เสียงวรรณยุกต์จะเปลี่ยนไปไม่ตรงกับรูปเขียน


2.เสียงแต่ไม่ปรากฏตัวอักษร


3.มีเสียงแต่ไม่มีรูปอักษรแทน


4.ข้อดีของระบบการเขียนในภาษาไทย

4.1ทำให้ทราบความหมายของคำพ้องเสียง

4.2ช่วยสันนิษฐานการออกเสียงคำต่างๆในสมัยก่อน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น