การสะกดคำ
1. หลักการเขียนคำที่มาจากภาษาบาลีและภาษาสันสกฤต
1. หลักการเขียนคำที่มาจากภาษาบาลีและภาษาสันสกฤต
1.1 ตัวสะกดที่มีอักษรซ้ำ ในกรณีที่ตัวหลังมีรูปสระกำกับ หรือมีตัวสะกดให้คงไว้ทั้งสองตัว เช่น บุคคล สัญญา แต่ถ้าตัวหลังไม่มีรูปสระกำกับอยู่หรือไม่มีตัวสะกดให้ตัดออกตัวหนึ่ง เช่น บุคลากร สัญลักษณ์
1.2 ตัวสะกดที่มีอักษรซ้อนเฉพาะในวรรคฏะ (ฏ ฐ ฑ ฒ ณ) ในกรณีที่ตัวหลังมีรูปสระกำกับ (ยกเว้นรูปสระ อิ) หรือมีตัวสะกดให้คงไว้ทั้งสองตัว เช่น อิฏฐารมณ์ รัฏฐาภิบาล แต่ถ้าตัวหลังไม่มีรูปสระกำกับ หรือมีรูปสระอิกำกับ และไม่มีตัวสะกด ให้ตัดตัวหน้าทิ้ง คงตัวหลังไว้ เช่น รัฐบาล วุฒิ ทิฐิ ทั้งนี้ยกเว้นคำที่เขียนมาแต่โบราณ เช่น วิชา บริเฉท ส่วนคำที่เป็นธรรมบัญญัติให้คงไว้ทั้งสองตัว เช่น วิปัสสนา จิตตภาวนา
2. หลักการประวิสรรชนีย์
2.1 คำประสมที่พยางค์หน้ากร่อนเสียงเป็นอะ ให้ประวิสรรชนีย์ เช่น ตาวัน เป็น ตะวัน หมากขาม เป็น มะขาม
2.2 คำที่ยืมมาจากภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต พยางค์สุดท้ายให้ออกเสียงให้เป็นอะให้ประวิสรรชนีย์ เช่น ศิลปะ ธุระ พละ
2.3 เสียงสระที่แผลงเป็นตะหรือกระได้ ให้ประวิสรรชนีย์ เช่น สะพาน = ตะพาน, สะเทือน = กระเทือน
3. หลักการประวิสรรชนีย์
3.1 คำที่แผลงโดยการแทรก “ร” ถ้าคำเดิมประวิสรรชนีย์ ให้คงรูปประวิสรรชนีย์ไว้ เช่น ทะนง = ทระนง, จะเข้ = จระเข้ถ้าคำเดิมไม่ประวิสรรชนีย์ ก็ไม่ต้องประ เช่น สล้าย = สรล้าย
3.2 คำที่มาจากภาษาชะวา ซึ่งออกเสียงเป็นอะ ให้ประวิสรรชนีย์ เช่น สะตาหมัน มะงุมมะงาหรา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น