วันจันทร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

การสื่อสารด้วยภาษา


การสื่อสารด้วยภาษา

การออกเสียงคำ
1. คำไทยที่ยืมมาจากภาษาบาลี สันสกฤต มีหลักการออกเสียงดังนี้

1.1 ออกเสียงเรียงพยางค์ เช่น สรณะ (สะ - ระ - ณะ) ปราชัย (ปะ - รา - ไช) ที่ไม่ออกเสียงเรียงพยางค์ก็มีบ้าง เช่น ธรณี (ทอ - ระ - ณี) วรกาย (วอ - ระ - กาย) บางคำออกเสียงได้ 2 อย่าง เช่น ปรมาณู (ปะ - ระ - มา - นู, ปอ - ระ - มา - นู )
1.2 ไม่อ่านออกเสียงตัวสะกด เช่น วิตถาร (วิด - ถาน) มุกดา (มุก - ดา) บางคำอ่านได้ 2 อย่าง เช่น ปรัชญา (ปรัด - ยา, ปรัด - ชะ - ยา) อาสาฬหบูชา (อา - สาน - หะ - บู - ชา, อา - สาน - ละ - หะ - บู - ชา) 2. การอ่านคำสมาส การอ่านคำสมาสจะต้องอ่านออกเสียงสระที่พยางค์ท้ายคำหน้า เช่น ปฐมยาม (ปะ - ถม - มะ - ยาม) อุบัติเหตุ (อุ - บัด - ติ - เหด) มีอยู่บ้างที่อนุโลมให้อ่านได้ 2 อย่าง คือ

1. อ่านตามหลัก
2. อ่านตามความนิยม เช่น รสนิยม (รด - สะ - นิ - ยม , รด - นิ - ยม)
3. การอ่านคำแผลง
3.1 แผลงมาจากพยัญชนะต้นตัวเดียว เขียนอย่างไร อ่านอย่างนั้น เช่น แจก = จำแนก (จำ - แนก) ยกเว้น เกิด = กำเนิด (กำ - เหนิด)
3.2 แผลงมาจากพยัญชนะต้นสองตัว อ่านออกเสียงวรรณยุกต์ของพยางค์ที่สองตามคำเดิม เช่น กราบ = กำราบ (กำ - หราบ) ยกเว้น ปราศ = บำราศ (บำ - ราด)



4. การอ่านอักษรควบ

4.1 อักษรควบแท้ (อักษรควบกล้ำ) ออกเสียงพยัญชนะต้น 2 ตัวพร้อม ๆ กัน เช่น ไกว พลอย เพราะ

4.2 อักษรควบไม่แท้ มี 2 ลักษณะ
1. ออกเสียงพยัญชนะต้นตัวที่หนึ่งเท่านั้น เช่น จริง (จิง)
2. เปลี่ยนเสียง ทร เป็น ซ เช่น ทราย (ซาย) เทริด (เซิด) ไทร (ไซ) 5. การอ่านอักษรนำ 5.1 อ่านออกเสียงเป็น 2 พยางค์ พยางค์ที่ 1 ออกเสียงเป็นสระอะ พยางค์ที่ 2 ออกเสียงเหมือน ห นำ เช่น กนก (กะ - หนก) เสวย (สะ - เหวย)

5.2 อ่านออกเสียงเป็น 1 พยางค์ ออกเสียงวรรณยุกต์ตามอักษรนำ
1. ห นำอักษรเดี่ยว เช่น ใหญ่ แหงน หลัก
2. อ นำ ย มี 4 คำ คือ อย่า อยู่ อย่าง อยาก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น