ภาษากับการสื่อสารภาษา
เป็นหัวใจของกิจกรรมการสื่อสาร เพราะในการสื่อสาร ผู้ส่งสารจะใช้ภาษาเป็นสื่อพาสารไปสู่ผู้รับสาร การสื่อสาร คือ การติดต่อระหว่างมนุษย์ด้วยวิธีการต่างๆ ที่จะให้ฝ่ายหนึ่งรับรู้ความหมายของอีกฝ่ายหนึ่งและเกิดการตอบสนอง การสื่อสารที่สัมฤทธิ์ผล คือ การสื่อสารที่ส่งสารและผู้รับสารเข้าใจความหมายได้ตรงกันและผู้รับสารตอบสนองได้ตรงตามที่ผู้ส่งสารต้องการ องค์ประกอบของการสื่อสาร คือ ผู้ส่งสาร สาร ผู้รับสาร และสื่อซึ่งพาสารจากผู้ส่งสารไปยังผู้รับสารภาษาที่ใช้ในการสื่อสารภาษาที่ใช้ในการสื่อสารแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ 1. วัจนภาษา ซึ่งเป็นถ้อยคำ คือภาษาพูดที่ใช้สื่อสารกัน2. อวัจนภาษา ซึ่งไม่ใช่ถ้อยคำ แต่อาจจะเป็นภาษาสัญลักษณ์ที่สามารถเข้าใจได้ตรงกัน เช่น สัญญาณไฟ สัญลักษณ์ อาการ ฯลฯ
ระดับภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร
1. ภาษาระดับพิธีการ ภาษาระดับพิธีการใช้ในกาลเทศะที่มีพิธีการ เช่น การเปิดงานต่าง ๆ ผู้ส่งสารมักเป็นผู้มีตำแหน่งสูงในวงการนั้น ผู้รับสารเป็นบุคคลในวงการเดียวกันหรือเป็นกลุ่มใหญ่ ลักษณะภาษาจะเป็นถ้อยคำที่สรรมาอย่างไพเราะ ก่อให้เกิดความจรรโลงใจ เป็นวาทนิพนธิ์ และใช้อ่านต่อที่ประชุม
2. ภาษาระดับทางการ ภาษาระดับทางการใช้ในการบรรยาย การอภิปราย ผู้ส่งสารและผู้รับสารอยู่ในวงการเดียวกัน ติดต่อกันด้วยเรื่องธุรกิจและการงาน การใช้ถ้อยคำจึงต้องกระชับ ชัดเจน สุภาพ อาจมีศัพท์วิชาการเฉพาะด้านอยู่ด้วย
3. ภาษาระดับกึ่งทางการ ภาษาประเภทนี้ใช้ในการประชุมกลุ่ม การอภิปรายกลุ่ม การบรรยายในชั้นเรียน เนื้อหาเป็นความรู้ทั่วไป การแสดงความคิดเห็นเชิงวิชาการเกี่ยวกับการดำรงชีวิตเกี่ยวกับธุรกิจ ใช้ศัพท์ทางวิชาการเท่าที่จำเป็น
4. ภาษาระดับสนทนา ภาษาระดับสนทนาใช้ในการสนทนาของบุคคลกลุ่มเล็กๆ ในกาลเทศะที่ไม่เป็นการส่วนตัว เนื้อหาเป็นเรื่องทั่ว ๆ ไปในชีวิตประจำวัน กิจธุระต่าง ๆ การปรึกษาหารือกัน การเขียนจดหมายถึงเพื่อน ข่าวและบทความ
5. ภาษาระดับกันเอง ภาษาระดับกันเองใช้การติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ที่มีสัมพันธภาพใกล้ชิดกันมาก ใช้ในกาลเทศะที่เป็นการส่วนตัว ไม่นิยมบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร อาจมีคำคะนองและภาษาถิ่นปนอยู่
สำนวนภาษากับการสื่อสารสำนวนภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร
1. สำนวนภาษาสามัญ สำนวนภาษาสามัญ หรือสำนวนทั่วไป เป็นสำนวนภาษาสุภาพที่ใช้ในเรื่องทั่วๆไป
2. สำนวนภาษาการประพันธ์ สำนวนภาษาการประพันธ์เป็นสำนวนภาษาที่มุ่งให้เกิดความสะเทือนอารมณ์หรือใช้ตามแบบฉบับร้อยกรอง อาจปนสำนวนสามัญบ้าง
3. สำนวนภาษาสื่อมวลชน สำนวนภาษาสื่อมวลชนเป็นสำนวนภาษาที่มีสื่อมวลชนนิยมใช้ เช่น “ต่อข้อถาม” แทน “ถาม” ,ใช้ “เปิดเผย” แทน “แถลง” หรือ “ชี้แจง”
ลักษณะของภาษา
1. การเรียบเรียง ภาษาระดับพิธีการและทางการจะเรียบเรียงอย่างเป็นระเบียบ ระดับกึ่งทางการ สนทนา และกันเองหย่อนความเป็นระเบียบลงตามลำดับ
2. กลวิธีการนำเสนอ ภาษาระดับพิธีการ และทางการ นำเสนออย่างกลาง ๆ ไม่เจาะจงว่าผู้ใดเป็นผู้รับสาร ถ้าจำเป็นต้องกล่าวก็กล่าวในฐานะเป็นผู้แทนของกลุ่มบุคคล หรือกล่าวในนามของตำแหน่งนั้น ๆ ภาษาระดับกึ่งทางการอาจมีการนำตัวเองเข้าไปเกี่ยวข้องได้บ้าง ส่วนระดับภาษาระดับสนทนาและกันเองนั้นสื่อสารระหว่างบุคคลกับบุคคล
3. ถ้อยคำที่ใช้ สรรพนามที่ใช้ระดับพิธีการ ทางการ และกึ่งทางการ ใช้ข้าพเจ้า กระผม ผม ดิฉัน ท่าน ระดับสนทนาและกันเอง ใช้สรรพนามต่างๆ กันได้มาก และอาจใช้นามแทนสรรพนามก็ได้ เช่นใช้ชื่อเล่น เป็นต้น คำนามที่ใช้แตกต่างกันไปตามระดับภาษา เช่น
ระดับพิธีการและทางการระดับกึ่งทางการลงมา
งานมงคลสมรสงานแต่งงาน
โรงภาพยนตร์
โรงหนังดวงตรา
ไปรษณียากรแสตมป์
เป็นหัวใจของกิจกรรมการสื่อสาร เพราะในการสื่อสาร ผู้ส่งสารจะใช้ภาษาเป็นสื่อพาสารไปสู่ผู้รับสาร การสื่อสาร คือ การติดต่อระหว่างมนุษย์ด้วยวิธีการต่างๆ ที่จะให้ฝ่ายหนึ่งรับรู้ความหมายของอีกฝ่ายหนึ่งและเกิดการตอบสนอง การสื่อสารที่สัมฤทธิ์ผล คือ การสื่อสารที่ส่งสารและผู้รับสารเข้าใจความหมายได้ตรงกันและผู้รับสารตอบสนองได้ตรงตามที่ผู้ส่งสารต้องการ องค์ประกอบของการสื่อสาร คือ ผู้ส่งสาร สาร ผู้รับสาร และสื่อซึ่งพาสารจากผู้ส่งสารไปยังผู้รับสารภาษาที่ใช้ในการสื่อสารภาษาที่ใช้ในการสื่อสารแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ 1. วัจนภาษา ซึ่งเป็นถ้อยคำ คือภาษาพูดที่ใช้สื่อสารกัน2. อวัจนภาษา ซึ่งไม่ใช่ถ้อยคำ แต่อาจจะเป็นภาษาสัญลักษณ์ที่สามารถเข้าใจได้ตรงกัน เช่น สัญญาณไฟ สัญลักษณ์ อาการ ฯลฯ
ระดับภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร
1. ภาษาระดับพิธีการ ภาษาระดับพิธีการใช้ในกาลเทศะที่มีพิธีการ เช่น การเปิดงานต่าง ๆ ผู้ส่งสารมักเป็นผู้มีตำแหน่งสูงในวงการนั้น ผู้รับสารเป็นบุคคลในวงการเดียวกันหรือเป็นกลุ่มใหญ่ ลักษณะภาษาจะเป็นถ้อยคำที่สรรมาอย่างไพเราะ ก่อให้เกิดความจรรโลงใจ เป็นวาทนิพนธิ์ และใช้อ่านต่อที่ประชุม
2. ภาษาระดับทางการ ภาษาระดับทางการใช้ในการบรรยาย การอภิปราย ผู้ส่งสารและผู้รับสารอยู่ในวงการเดียวกัน ติดต่อกันด้วยเรื่องธุรกิจและการงาน การใช้ถ้อยคำจึงต้องกระชับ ชัดเจน สุภาพ อาจมีศัพท์วิชาการเฉพาะด้านอยู่ด้วย
3. ภาษาระดับกึ่งทางการ ภาษาประเภทนี้ใช้ในการประชุมกลุ่ม การอภิปรายกลุ่ม การบรรยายในชั้นเรียน เนื้อหาเป็นความรู้ทั่วไป การแสดงความคิดเห็นเชิงวิชาการเกี่ยวกับการดำรงชีวิตเกี่ยวกับธุรกิจ ใช้ศัพท์ทางวิชาการเท่าที่จำเป็น
4. ภาษาระดับสนทนา ภาษาระดับสนทนาใช้ในการสนทนาของบุคคลกลุ่มเล็กๆ ในกาลเทศะที่ไม่เป็นการส่วนตัว เนื้อหาเป็นเรื่องทั่ว ๆ ไปในชีวิตประจำวัน กิจธุระต่าง ๆ การปรึกษาหารือกัน การเขียนจดหมายถึงเพื่อน ข่าวและบทความ
5. ภาษาระดับกันเอง ภาษาระดับกันเองใช้การติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ที่มีสัมพันธภาพใกล้ชิดกันมาก ใช้ในกาลเทศะที่เป็นการส่วนตัว ไม่นิยมบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร อาจมีคำคะนองและภาษาถิ่นปนอยู่
สำนวนภาษากับการสื่อสารสำนวนภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร
1. สำนวนภาษาสามัญ สำนวนภาษาสามัญ หรือสำนวนทั่วไป เป็นสำนวนภาษาสุภาพที่ใช้ในเรื่องทั่วๆไป
2. สำนวนภาษาการประพันธ์ สำนวนภาษาการประพันธ์เป็นสำนวนภาษาที่มุ่งให้เกิดความสะเทือนอารมณ์หรือใช้ตามแบบฉบับร้อยกรอง อาจปนสำนวนสามัญบ้าง
3. สำนวนภาษาสื่อมวลชน สำนวนภาษาสื่อมวลชนเป็นสำนวนภาษาที่มีสื่อมวลชนนิยมใช้ เช่น “ต่อข้อถาม” แทน “ถาม” ,ใช้ “เปิดเผย” แทน “แถลง” หรือ “ชี้แจง”
ลักษณะของภาษา
1. การเรียบเรียง ภาษาระดับพิธีการและทางการจะเรียบเรียงอย่างเป็นระเบียบ ระดับกึ่งทางการ สนทนา และกันเองหย่อนความเป็นระเบียบลงตามลำดับ
2. กลวิธีการนำเสนอ ภาษาระดับพิธีการ และทางการ นำเสนออย่างกลาง ๆ ไม่เจาะจงว่าผู้ใดเป็นผู้รับสาร ถ้าจำเป็นต้องกล่าวก็กล่าวในฐานะเป็นผู้แทนของกลุ่มบุคคล หรือกล่าวในนามของตำแหน่งนั้น ๆ ภาษาระดับกึ่งทางการอาจมีการนำตัวเองเข้าไปเกี่ยวข้องได้บ้าง ส่วนระดับภาษาระดับสนทนาและกันเองนั้นสื่อสารระหว่างบุคคลกับบุคคล
3. ถ้อยคำที่ใช้ สรรพนามที่ใช้ระดับพิธีการ ทางการ และกึ่งทางการ ใช้ข้าพเจ้า กระผม ผม ดิฉัน ท่าน ระดับสนทนาและกันเอง ใช้สรรพนามต่างๆ กันได้มาก และอาจใช้นามแทนสรรพนามก็ได้ เช่นใช้ชื่อเล่น เป็นต้น คำนามที่ใช้แตกต่างกันไปตามระดับภาษา เช่น
ระดับพิธีการและทางการระดับกึ่งทางการลงมา
งานมงคลสมรสงานแต่งงาน
โรงภาพยนตร์
โรงหนังดวงตรา
ไปรษณียากรแสตมป์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น