วันจันทร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ภาษาที่ใช้ในการประชุม


ภาษาที่ใช้ในการประชุม
การประชุม การประชุม คือ การสื่อสารอย่างหนึ่ง ผู้เข้าประชุมเป็นทั้งผู้ส่งสาร และผู้รับสาร ส่วนสารก็คือ ความรู้ข้อเท็จจริง ข้อคิดเห็น ต่างๆ อารมณ์ ความรู้สึกที่แสดงออกในที่ประชุมนั่นเอง


ศัพท์ในการประชุม
ศัพท์เกี่ยวกับรูปแบบของการประชุม การประชุมเฉพาะกลุ่ม เป็นการประชุมเฉพาะผู้มีสิทธิ์และหน้าที่เข้าประชุม มีรูปแบบ ย่อย ๆ ดังนี้

1.การประชุมปรึกษา เป็นการประชุมของกลุ่มบุคคลที่มีภารกิจร่วมกัน

2.การประชุมปฏิบัติ เป็นการประชุมของบุคคลที่ปฏิบัติงานร่วมกัน หรือเกี่ยวข้องกัน

3.การสัมมนา เป็นการประชุมตามหัวข้อที่กำหนด

4.การประชุมชี้แจง เป็นการประชุมที่หัวหน้าหน่วยเรียกบุคคลในหน่วยงานมาประชุมเพื่อรับทราบข้อเท็จจริง

5.การประชุมใหญ่ เป็นการประชุมที่เปิดโอกาศให้สมาชิกทั้งหมดขององค์การเข้าร่วมประชุมแสดงความคิดเห็น

การประชุมสาธารณะ
การประชุมสาธารณะ เป็นการประชุมที่เปิดโอกาสให้บุคคลภายนอกเข้าร่วมฟังและซักถามแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมใน “คาบเวลาอภิปรายทั่วไป” หรือ “คาบเวลาอภิปรายสาธารณะ”

การใช้ภาษาที่ใช้ในการประชุม
1.การใช้ภาษาสำหรับประธานในที่ประชุม ภาษาที่ประธานใช้จะขึ้นอยู่กับระดับของการประชุม ถ้าเป็นแบบกันเอง ก็ใช้ถ้อยแบบเป็นกันเองได้ แต่ถ้าเป็นการประชุมตามระเบียบแบบแผนก็ต้องใช้ภาษาทางการ 2.การใช้ภาษาของผู้เข้าประชุม ถ้าเป็นการประชุมแบบเป็นกันเอง ใช้ภาษาระดับสนทนาโดยระวังคำพูดให้ชัดเจน และไม่ว่าจะเป็นการประชุมระดับใดในการแสดงความคิดควรจะมีกล่าวนำเสียก่อน เพื่อให้ผู้ฟังเข้าใจได้รวดเร็ว

ศัพท์ที่ใช้กับการประชุม
ศัพท์ที่ใช้เรียกบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการประชุม
1.ผู้จัดประชุม คือ ผู้กำหนดเรื่องประชุม วางกำหนดการประชุมกำหนดตัวผู้เข้าประชุมและเตรียมการบันทึกผลการประชุม

2.ผู้มีสิทธิ์เข้าประชุม คือ ผู้ที่ได้รับเชิญหรือได้รับแต่งตั้งให้เข้าประชุมมีสิทธิ์อภิปรายเสนอเรื่องให้ที่ประชุมพิจารณา และมีสิทธิ์ออกเสียงลงมติได้

3.ผู้เข้าประชุม คือ ผู้มีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นในการประชุม

4.องค์ประชุม คือ จำนวนผู้เข้าประชุมตามข้อบังคับว่า ต้องมีอย่างน้อยกี่คนจึงจะเปิดการประชุมและดำเนินการประชุมได้

5.ประธาน คือ ผู้ทำหน้าที่ควบคุมการประชุมทั้งหมด

6.รองประธาน คือ ผู้ทำหน้าที่แทนประธาน ถ้าประธานไม่อยู่

7.เลขานุการ คือ ผู้ทำหน้าที่ออกจดหมายเชิญประชุม จัดระเบียบวาระการประชุมบันทึกรายงานการประชุม และอำนวยความสะดวกต่าง ๆ

8.ผู้ช่วยเลขานุการ คือ ผู้ที่ทำหน้าที่ช่วยเลขานุการ

9.กรรมการ คือ ผู้มีหน้าที่พิจารณาเรื่องในวาระการประชุม และตั้งข้อเสนอหรือญัตติให้ที่ประชุมพิจารณา

10.คณะอนุกรรมการ คือ คณะบุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งให้ทำหน้าที่เฉพาะเรื่องมีหน้าที่แคบกว่าขอบเขตของคณะกรรมการ

11.เหรัญญิก คือ ผู้รับผิดชอบด้านการเงิน

12.ประชาสัมพันธ์ คือ ผู้เผยแพร่ข่าวสาร และสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับทุกฝ่าย


ศัพท์เฉพาะการประชุม

ศัพท์เฉพาะที่ใช้ในกิจกรรมการประชุม
ศัพท์ที่ใช้เรียกเรื่องที่ประชุม ระเบียบวาระ คือ เรื่องที่ประชุมในการประชุมเฉพาะกลุ่มที่เป็นการประชุมของคณะกรรมการ เลขานุการจะเป็นผู้จัดระเบียบ วาระตามความเห็นชอบของประธาน

“วาระที่” 1 คือ การรับรองรายงานการประชุมครั้งก่อน

“วาระที่” 2 เป็นการพิจาณาเรื่องสืบเนื่องจากการประชุมครั้งก่อน

“วาระที่” 3 เป็นการพิจาณาเรื่องใหม่ กำหนดการประชุม การประชุมเฉพาะกลุ่มที่เป็นครั้งคราว มีเรื่องสำคัญที่จะประชุมกันเพียงเรื่องเดียวจะใช้ “กำหนดการประชุม” แทน กำหนดการประชุมสาธารณะที่จัดขึ้นเต็มรูปแบบ จะเริ่มด้วยการลงทะเบียน พิธีเปิด การบรรยาย หรืออภิปราย คาบเวลาอภิปรายทั่วไป แยกประชุมกลุ่มย่อย เปิดคาบเวลาอภิปรายทั่วไป พิธีปิดประชุม อนึ่ง จะต้องระวังไม่ใช้ “หมายกำหนดการ” เพราะหมายกำหนดการจะต้องมีพระบรมราชโองการเหนือเกล้าฯ สั่ง และมี “นาย กรัฐมนตรี หรือ เลขาธิการพระราชวัง” รับสนองพระราชโองการ ศัพท์ที่ใช้ในการเรียกวิธีการสื่อสารในการประชุม

1.เสนอ เมื่อผู้เข้าประชุมต้องการให้ที่ประชุมพิจารณาเรื่องใดก็ “เสนอ” เรื่องนั้นให้ที่ประชุมพิจารณา เรื่องที่เสนอเรียกว่า ข้อเสนอ หรือ ญัตติ

2.การอภิปราย คือ การแสดงความคิดเห็นต่อข้อเสนอหรือญัตติ

3.ผ่าน ที่ประชุมยอมรับ ข้อเสนอหรือญัตตินั้นก็ ผ่าน

4.ตก ที่ประชุมไม่ยอมรับ ข้อเสนอหรือญัตตินั้นก็ ตก

5.ขอมติ เมื่อประธานต้องการข้อยุติจากที่ประชุมก็จะขอมติจากที่ประชุม

6.มติของที่ประชุม คือ ข้อตัดสินใจของที่ประชุมที่จะนำไปปฏิบัติ

การอ่นานออกเสียง


การอ่นานออกเสียง

1. กลุ่มคำที่ไม่ออกเสียงตัวสะกด วิตถาร (วิด - ถาน) อุณหภูมิ (อุณ - หะ - พูม) มุกดา (มุก - ดา ) สัตถา (สัด - ถา ) คำในกลุ่มนี้มีการเปลี่ยนแปลงให้อ่านได้ 2 อย่าง คือตามหลักเกณฑ์ และตามความนิยม ดังนี้ ปรัชญา ตามหลักอ่าน ปรัด - ยา ตามความนิยมอ่าน ปรัด - ชะ - ยา อาชญา ตามหลักอ่าน อาด - ยา ตามความนิยมอ่าน อาด - ชะ - ยา สัปดาห์ ตามหลักอ่าน สับ - ดา ตามความนิยมอ่าน สับ - ปะ - ดา


2. กลุ่มคำ ปร กลุ่มคำ ปร ให้อ่านได้สองอย่าง คือ ตามหลักอ่าน ปะ - ระ ตามความนิยมอ่าน ปอ - ระ เช่น ปรมาจารย์ ปรมาณู ปรมาภิไธย ปรโลก ยกเว้น ปรปักษ์ อ่าน ปอ - ระ - ปัก เท่านั้น


3. กลุ่มคำภูมิ

3.1 คำประสม อ่าน พูม เช่น ภูมิปัญญา ภูมิ ธรรม ภูมิรู้ ยกเว้น ภูมิลำเนา อ่านตามหลักว่า พูม - ลำ - เนา อ่านตามความนิยมว่า พู - มิ - ลำ - เนา

3.2 คำสมาส อ่าน พู - มิ เช่น ภูมิศาสตร์ ภูมิประเทศ ภูมิธร ยกเว้น ภูมิภาค อ่านว่า พู - มิ - พาก

หรือ พูม - มิ - พาก ก็ได้


4. กลุ่มคำสรรพ

4.1 อ่านออกเสียงได้ 2 อย่าง คือ สัน - พะ หรือ สับ - พะ ก็ได้ มี 4 คำ คือ สรรพสัตว์ สรรพสิ่ง สรรพวิชา สรรพสามิต

4.2 อ่านออกเสียง สับ - พะ เท่านั้น มี 4 คำ คือ สรรพคุณ สรรพนาม สรรพคราส สรรพสินค้า


5. กลุ่มคำ สมรรถ

5.1 อ่านเรียงพยางค์ ได้แก่ สมรรถนะ (สะ - มัด - ถะ - นะ)

5.2 อ่านได้ 2 อย่าง ได้แก่ สมรรถภาพ อ่านเรียงพยางค์ เป็น สะ - มัด - ถะ - ภาพ หรือจะอ่าน สะ - หมัด - ถะ - ภาพ ก็ได้


6. กลุ่มคำ สมาน

6.1 อ่านเรียงพยางค์ ได้แก่ สมานคติ (สะ - มา - นะ - คะ - ติ) ยกเว้น สมานฉันท์ อ่านได้สองอย่าง ตามหลักอ่านว่า สะ - มา - นะ - ฉัน ตามความนิยมอ่านว่า สะ - หมาน - นะ - ฉัน

6.2 อ่านอักษรนำ เมื่อไม่ได้ต่อศัพท์สมาส เช่น สมานมิตร (สะ - หมาน - มิด) สมานไมตรี (สะ - หมาน -ไม - ตรี)


7. กลุ่มคำ กล

7.1 อ่าน กน ได้แก่ กลไก กลอุบาย กลพยาน กลไฟ

7.2 อ่าน กน - ละ ได้แก่ กลวิธี กลบท กลเม็ด กลยุทธ์

7.3 อ่านได้ 2 อย่าง ได้แก่ กลอักษร (กน - อัก - สอน, กน - ละ - อัก - สอน)


8. กลุ่มคำ กร กลุ่มคำกรอ่านได้ 2 อย่าง คือ กะ - ระ และ กอ - ระ ได้ทุกคำ ยกเว้น กรกฏ, กรพันธ์ อ่าน กอ - ระ กรบูร อ่าน กะ - ระ กรกฎาคม อ่าน กะ - ระ - กะ - ดา - คม หรือ กะ - รัก - กะ - ดา - คม


9. กลุ่มคำ กรม กลุ่มคำกรม อ่าน กรม - มะ เช่น กรมหมื่น กรมขุน กรมหลวง9. กลุ่มคำ กรม กลุ่มคำกรม อ่าน กรม - มะ เช่น กรมหมื่น กรมขุน กรมหลวง ยกเว้น กรมพระยา กรมสมเด็จ อ่านเป็น กรม


10. กลุ่มคำ เกียรติ กลุ่มคำเกียรติ อ่านว่า เกียด - ติ ได้แก่ เกีรติคุณ เกียรติภูมิ เกียรติยศ เกียรติศักดิ์ ยกเว้น เกียรตินิยม อ่าน เกียด - นิ - ยม และเกียรติประวัติ อ่านได้สองอย่าง คือ เกียด - ติ - ประ - หวัด หรือ เกียด - ประ - หวัด ก็ได้


11. กลุ่มคำ คุณ กลุ่มคำ คุณ อ่านว่า คุน - นะ ได้แก่ คุณธรรม คุณภาพ คุณลักษณะ คุณวิเศษ คุณวุฒิ ยกเว้น คุณโทษ อ่านว่า คุน - โทด และ คุณค่า คุณประโยชน์ คุณสมบัติ อ่านได้ 2 อย่าง คือ คุน - นะ หรือ คุน ก็ได้


12. กลุ่มคำ ชาติ กลุ่มคำ ชาติ อ่านว่า ชาด - ติ ได้แก่ ชาติพันธุ์ ชาติภูมิ ชาติวุฒิ ยกเว้น ชาตินิยม อ่านว่า ชาด - นิ - ยม และอ่าน ได้ 2 อย่าง คือ ชาติพลี อ่านว่า ชาด - ติ - พะ - ลี หรือ ชาด - พะ - ลี ก็ได้ ชาติรส อ่านว่า ชา - ติ - รด หรือ ชาด - ติ - รด ก็ได้


13. กลุ่มคำ โบราณ กลุ่มคำ โบราณ อ่านได้ 2 อย่าง คือ โบ - ราน - นะ หรือ โบ - ราน ก็ได้ เช่น โบราณกาล โบราณคดี โบราณวัตถุ โบราณสถาน


14. กลุ่มคำ ปฐม กลุ่มคำ ปฐม อ่านว่า ปะ - ถม - มะ ได้แก่ ปฐมกรรม ปฐมยาม ปฐมฤกษ์ ปฐมวัย ปฐมทัศน์ ยกเว้น ปฐมพยาบาล อ่านว่า ประ - ถม - พะ - ยา - บาน และที่อ่านได้ 2 อย่างคือ ปฐมเทศนา ปฐมนิเทศ ปฐมบุรุษ ปฐม สมโพธิ ปฐมเหตุจะอ่านว่า ประ - ถม - มะ หรือ ประ - ถม ก็ได้


15. กลุ่มคำ ประวัติ กลุ่มคำ ประวัติ อ่านได้ 2 อย่าง คือ ประ - หวัด - ติ หรือ ประ - หวัด ก็ได้ เช่น ประวัติการ ประวัติการณ์ ประวัติกาล ประวัติศาสตร์


16. กลุ่มคำ พล กลุ่มคำ พล อ่านว่า พน - ละ เช่น พลกาย พลความ พลขับ พลโลก พลวัต ยกเว้น พลการ พลศึกษา อ่านว่า พะ - ละ และ พลรบ อ่านได้ 2 อย่าง พน - รบ หรือ พน - ละ - รบ ก็ได้



17. กลุ่มคำ พลี

17.1 อ่านเรียงพยางค์ เป็น พะ - ลี มีความหมายว่า การบูชา การบวงสรวง ส่วย เช่น ญาติพลี เปตพลี ราชพลี พลีกรรม

17.2 อ่านอักษรควาบกล้ำ เป็น พลี มีความหมายว่า เสียสละ เช่น พลีชีพ บวงสรวงเชิญเอามา เช่น พลียาสมุนไพรมาใช้ หมายถึง ขอแบ่งเอามาใช้ 18. กลุ่มคำ ศาสน กลุ่มคำ ศาสน อ่านได้ 2 อย่าง คือ สา - สะ - นะ หรือ สาด - สะ - นะ ทุกคำ เช่น ศาสนกิจ ศาสนจักร ศาสนพิธี ศาสนสถาน ศาสนสมบัติ ศาสนิกชน ศาสนูปถัมภก ยกเว้น กรมพระยา กรมสมเด็จ อ่านเป็น กรม

การสะกดคำ


การสะกดคำ
1. หลักการเขียนคำที่มาจากภาษาบาลีและภาษาสันสกฤต

1.1 ตัวสะกดที่มีอักษรซ้ำ ในกรณีที่ตัวหลังมีรูปสระกำกับ หรือมีตัวสะกดให้คงไว้ทั้งสองตัว เช่น บุคคล สัญญา แต่ถ้าตัวหลังไม่มีรูปสระกำกับอยู่หรือไม่มีตัวสะกดให้ตัดออกตัวหนึ่ง เช่น บุคลากร สัญลักษณ์

1.2 ตัวสะกดที่มีอักษรซ้อนเฉพาะในวรรคฏะ (ฏ ฐ ฑ ฒ ณ) ในกรณีที่ตัวหลังมีรูปสระกำกับ (ยกเว้นรูปสระ อิ) หรือมีตัวสะกดให้คงไว้ทั้งสองตัว เช่น อิฏฐารมณ์ รัฏฐาภิบาล แต่ถ้าตัวหลังไม่มีรูปสระกำกับ หรือมีรูปสระอิกำกับ และไม่มีตัวสะกด ให้ตัดตัวหน้าทิ้ง คงตัวหลังไว้ เช่น รัฐบาล วุฒิ ทิฐิ ทั้งนี้ยกเว้นคำที่เขียนมาแต่โบราณ เช่น วิชา บริเฉท ส่วนคำที่เป็นธรรมบัญญัติให้คงไว้ทั้งสองตัว เช่น วิปัสสนา จิตตภาวนา


2. หลักการประวิสรรชนีย์

2.1 คำประสมที่พยางค์หน้ากร่อนเสียงเป็นอะ ให้ประวิสรรชนีย์ เช่น ตาวัน เป็น ตะวัน หมากขาม เป็น มะขาม

2.2 คำที่ยืมมาจากภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต พยางค์สุดท้ายให้ออกเสียงให้เป็นอะให้ประวิสรรชนีย์ เช่น ศิลปะ ธุระ พละ

2.3 เสียงสระที่แผลงเป็นตะหรือกระได้ ให้ประวิสรรชนีย์ เช่น สะพาน = ตะพาน, สะเทือน = กระเทือน



3. หลักการประวิสรรชนีย์

3.1 คำที่แผลงโดยการแทรก “ร” ถ้าคำเดิมประวิสรรชนีย์ ให้คงรูปประวิสรรชนีย์ไว้ เช่น ทะนง = ทระนง, จะเข้ = จระเข้ถ้าคำเดิมไม่ประวิสรรชนีย์ ก็ไม่ต้องประ เช่น สล้าย = สรล้าย

3.2 คำที่มาจากภาษาชะวา ซึ่งออกเสียงเป็นอะ ให้ประวิสรรชนีย์ เช่น สะตาหมัน มะงุมมะงาหรา

การสื่อสารด้วยภาษา


การสื่อสารด้วยภาษา

การออกเสียงคำ
1. คำไทยที่ยืมมาจากภาษาบาลี สันสกฤต มีหลักการออกเสียงดังนี้

1.1 ออกเสียงเรียงพยางค์ เช่น สรณะ (สะ - ระ - ณะ) ปราชัย (ปะ - รา - ไช) ที่ไม่ออกเสียงเรียงพยางค์ก็มีบ้าง เช่น ธรณี (ทอ - ระ - ณี) วรกาย (วอ - ระ - กาย) บางคำออกเสียงได้ 2 อย่าง เช่น ปรมาณู (ปะ - ระ - มา - นู, ปอ - ระ - มา - นู )
1.2 ไม่อ่านออกเสียงตัวสะกด เช่น วิตถาร (วิด - ถาน) มุกดา (มุก - ดา) บางคำอ่านได้ 2 อย่าง เช่น ปรัชญา (ปรัด - ยา, ปรัด - ชะ - ยา) อาสาฬหบูชา (อา - สาน - หะ - บู - ชา, อา - สาน - ละ - หะ - บู - ชา) 2. การอ่านคำสมาส การอ่านคำสมาสจะต้องอ่านออกเสียงสระที่พยางค์ท้ายคำหน้า เช่น ปฐมยาม (ปะ - ถม - มะ - ยาม) อุบัติเหตุ (อุ - บัด - ติ - เหด) มีอยู่บ้างที่อนุโลมให้อ่านได้ 2 อย่าง คือ

1. อ่านตามหลัก
2. อ่านตามความนิยม เช่น รสนิยม (รด - สะ - นิ - ยม , รด - นิ - ยม)
3. การอ่านคำแผลง
3.1 แผลงมาจากพยัญชนะต้นตัวเดียว เขียนอย่างไร อ่านอย่างนั้น เช่น แจก = จำแนก (จำ - แนก) ยกเว้น เกิด = กำเนิด (กำ - เหนิด)
3.2 แผลงมาจากพยัญชนะต้นสองตัว อ่านออกเสียงวรรณยุกต์ของพยางค์ที่สองตามคำเดิม เช่น กราบ = กำราบ (กำ - หราบ) ยกเว้น ปราศ = บำราศ (บำ - ราด)



4. การอ่านอักษรควบ

4.1 อักษรควบแท้ (อักษรควบกล้ำ) ออกเสียงพยัญชนะต้น 2 ตัวพร้อม ๆ กัน เช่น ไกว พลอย เพราะ

4.2 อักษรควบไม่แท้ มี 2 ลักษณะ
1. ออกเสียงพยัญชนะต้นตัวที่หนึ่งเท่านั้น เช่น จริง (จิง)
2. เปลี่ยนเสียง ทร เป็น ซ เช่น ทราย (ซาย) เทริด (เซิด) ไทร (ไซ) 5. การอ่านอักษรนำ 5.1 อ่านออกเสียงเป็น 2 พยางค์ พยางค์ที่ 1 ออกเสียงเป็นสระอะ พยางค์ที่ 2 ออกเสียงเหมือน ห นำ เช่น กนก (กะ - หนก) เสวย (สะ - เหวย)

5.2 อ่านออกเสียงเป็น 1 พยางค์ ออกเสียงวรรณยุกต์ตามอักษรนำ
1. ห นำอักษรเดี่ยว เช่น ใหญ่ แหงน หลัก
2. อ นำ ย มี 4 คำ คือ อย่า อยู่ อย่าง อยาก

เสียงในภาษาไทย


เสียงในภาษาไทย
1.เสียงสระหรือเสียงแท้

1.1สระเดี่ยวหรือสระแท้ สระเดี่ยวหรือสระแท้ 18 เสียงนี้ประกอบด้วยสระเสียงสั้น (รัสสระ) และสระเสียงยาว (ทีฆสระ) แบ่งเป็นแบบละ 9 คู่

1.2สระประสมหรือสระเลื่อน สระประสมหรือสระเลื่อนที่เป็นสระเสียงสั้น คือ สระเอียะ เอือะ อัวะ ในภาษาไทยมีที่ใช้น้อยมาก และเป็นคำเลียนเสียงธรรมชาติ


2.เสียงพยัญชนะหรือเสียงแปร เสียงพยัญชนะหรือเสียงแปร คือ เสียงที่เกิดจากลมที่ออกจากปอด ผ่านหลอดลม แล้วถูกทำให้ผ่านที่แคบตรงฐานที่เกิดของเสียง เกิดเป็นเสียงพยัญชนะ

2.1เสียงพยัญชนะต้น เป็นเสียงพยัญชนะที่เกิดที่ต้นพยางค์ ในภาษาไทยมีเสียงพยัญชนะต้นที่เป็นเป็นเสียงพยัญชนะเดี่ยวทั้งหมด 21 เสียง มีฐานที่เกิดของเสียงและลักษณะการเปล่งเสียง

2.2เสียงพยัญชนะท้าย หรือเสียงพยัญชนะสะกดมี 9 เสียง จำแนกตามประเภทของเสียงเป็น 3 ประเภท

1.เสียงกัก – ไม่มีกลุ่มลม – ไม่ก้อง มี 4 เสียง

2.เสียงนาสิก มี 3 เสียง

3.เสียงอัฒสระ มี 2 เสียง


3.เสียงวรรณยุกต์หรือเสียงดนตรี

3.1พยางค์ที่ไม่มีรูปวรรณยุกต์กำกับ

1.พยัญชนะต้นเป็นอักษรกลางคืออักษรสูง

2.พยัญชนะต้นเป็นอักษรต่ำ


3.2พยางค์ที่ไม่มีวรรณยุกต์

1.อักษรกลาง คำเป็น เช่น กัน ปราง เสียงสามัญ คำตาย เช่น กัด ปราบ เสียงเอก

2.อักษรสูง คำเป็น เช่น ขา ขวาง เสียงจัตวา คำตาย เช่น ขะ ขวาก เสียงเอก

3.อักษรต่ำ คำเป็น เช่น ควัน นาม เสียงสามัญ คำตาย เช่น คะ คัด เสียงตรี และ คาด แนบ เสียงโท


พยางค์
เสียงสระ เสียงพยัญชนะ และเสียงวรรณยุกต์ ประกอบเป็นพยางค์

พยางค์เปิด คือ พยางค์ที่ไม่มีเสียงพยัญชนะท้าย

พยางค์ปิด คือ พยางค์ที่มีเสียงพยัญชนะท้าย 9 เสียง

โครงสร้างของพยางค์
ในการพิจารณาโครงสร้างของพยางค์

1.พยางค์เปิด หรือ พยางค์ปิด

2.เสียงพยัญชนะต้น เป็นเสียงพยัญชนะเดี่ยว หรือ เสียงพยัญชนะประสม

3.เสียงสระ เป็นสระเสียงเดี่ยว หรือ เสียงสระประสม เสียงสระสั้น หรือ สระเสียงยาว

4.เสียงวรรณยุกต์ เป็นเสียงสามัญ เอก โท ตรี จัตวา เสียงวรรณยุกต์ระดับ หรือ เปลี่ยนระดับ


เสียงหนักเสียงเบา
1.ลักษณะส่วนประกอบของพยางค์ เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับครุ – ลหุดังนี้

พยางค์เปิด สระเสียงสั้น เป็นลหุ คือ เสียงเบา

พยางค์เปิด สระเสียงยาว และพยางค์ปิด เป็นครุ คือ เสียงหนัก

2.ตำแหน่งของพยางค์ในคำ คำสองพยางค์ ลงเสียงหนักที่พยางค์ท้าย คำหลายพยางค์ ลงเสียงหนักที่พยางค์ท้าย

3.ชนิดและหน้าที่ของคำในประโยค คำพยางค์เดียวและเป็นคำสำคัญในประโยค คือ คำนาม คำกริยา คำวิเศษณ์ที่ใช้ประกอบหลังคำนามหรือคำกริยา เน้นเสียงหนัก คำสรรพนาม คำบุพบท คำสันธาน คำวิเศษณ์ที่ใช้ประกอบหน้าคำกริยา มักไม่เน้นเสียงหนัก

4.เจตนาของผู้ส่งสาร ผู้ส่งสารอาจจะเลือกเน้นคำหนึ่งคำใดในประโยคเพื่อให้ผู้รับสารสนใจ หรือเพื่อแฝงบางอย่างเป็นพิเศษ



อักษร
อักษร คือ เครื่องหมายใช้แทนเสียง อักษรไทยมีรูปสระ 21 รูป พยัญชนะ 44 รูป และรูปวรรณยุกต์ 4 รูป
ข้อน่าสังเกตเกี่ยวกับเสียงและอักษรในภาษาไทย
1.การออกเสียงไม่ตรงกับรูปเขียน

1.1เสียงสระสั้น – ยาว เมื่อออกเสียงเน้นหนักเสียงสระจะยาวกว่าเสียงไม่เน้นหนัก

1.2เสียงวรรณยุกต์ พยางค์ที่ไม่ลงเสียงเน้นหนัก นอกจากเสียงสระจะสั้นลงแล้ว เสียงวรรณยุกต์จะเปลี่ยนไปไม่ตรงกับรูปเขียน


2.เสียงแต่ไม่ปรากฏตัวอักษร


3.มีเสียงแต่ไม่มีรูปอักษรแทน


4.ข้อดีของระบบการเขียนในภาษาไทย

4.1ทำให้ทราบความหมายของคำพ้องเสียง

4.2ช่วยสันนิษฐานการออกเสียงคำต่างๆในสมัยก่อน

ภาษากับการสื่อสาร


ภาษากับการสื่อสารภาษา

เป็นหัวใจของกิจกรรมการสื่อสาร เพราะในการสื่อสาร ผู้ส่งสารจะใช้ภาษาเป็นสื่อพาสารไปสู่ผู้รับสาร การสื่อสาร คือ การติดต่อระหว่างมนุษย์ด้วยวิธีการต่างๆ ที่จะให้ฝ่ายหนึ่งรับรู้ความหมายของอีกฝ่ายหนึ่งและเกิดการตอบสนอง การสื่อสารที่สัมฤทธิ์ผล คือ การสื่อสารที่ส่งสารและผู้รับสารเข้าใจความหมายได้ตรงกันและผู้รับสารตอบสนองได้ตรงตามที่ผู้ส่งสารต้องการ องค์ประกอบของการสื่อสาร คือ ผู้ส่งสาร สาร ผู้รับสาร และสื่อซึ่งพาสารจากผู้ส่งสารไปยังผู้รับสารภาษาที่ใช้ในการสื่อสารภาษาที่ใช้ในการสื่อสารแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ 1. วัจนภาษา ซึ่งเป็นถ้อยคำ คือภาษาพูดที่ใช้สื่อสารกัน2. อวัจนภาษา ซึ่งไม่ใช่ถ้อยคำ แต่อาจจะเป็นภาษาสัญลักษณ์ที่สามารถเข้าใจได้ตรงกัน เช่น สัญญาณไฟ สัญลักษณ์ อาการ ฯลฯ



ระดับภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร

1. ภาษาระดับพิธีการ ภาษาระดับพิธีการใช้ในกาลเทศะที่มีพิธีการ เช่น การเปิดงานต่าง ๆ ผู้ส่งสารมักเป็นผู้มีตำแหน่งสูงในวงการนั้น ผู้รับสารเป็นบุคคลในวงการเดียวกันหรือเป็นกลุ่มใหญ่ ลักษณะภาษาจะเป็นถ้อยคำที่สรรมาอย่างไพเราะ ก่อให้เกิดความจรรโลงใจ เป็นวาทนิพนธิ์ และใช้อ่านต่อที่ประชุม

2. ภาษาระดับทางการ ภาษาระดับทางการใช้ในการบรรยาย การอภิปราย ผู้ส่งสารและผู้รับสารอยู่ในวงการเดียวกัน ติดต่อกันด้วยเรื่องธุรกิจและการงาน การใช้ถ้อยคำจึงต้องกระชับ ชัดเจน สุภาพ อาจมีศัพท์วิชาการเฉพาะด้านอยู่ด้วย

3. ภาษาระดับกึ่งทางการ ภาษาประเภทนี้ใช้ในการประชุมกลุ่ม การอภิปรายกลุ่ม การบรรยายในชั้นเรียน เนื้อหาเป็นความรู้ทั่วไป การแสดงความคิดเห็นเชิงวิชาการเกี่ยวกับการดำรงชีวิตเกี่ยวกับธุรกิจ ใช้ศัพท์ทางวิชาการเท่าที่จำเป็น

4. ภาษาระดับสนทนา ภาษาระดับสนทนาใช้ในการสนทนาของบุคคลกลุ่มเล็กๆ ในกาลเทศะที่ไม่เป็นการส่วนตัว เนื้อหาเป็นเรื่องทั่ว ๆ ไปในชีวิตประจำวัน กิจธุระต่าง ๆ การปรึกษาหารือกัน การเขียนจดหมายถึงเพื่อน ข่าวและบทความ

5. ภาษาระดับกันเอง ภาษาระดับกันเองใช้การติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ที่มีสัมพันธภาพใกล้ชิดกันมาก ใช้ในกาลเทศะที่เป็นการส่วนตัว ไม่นิยมบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร อาจมีคำคะนองและภาษาถิ่นปนอยู่



สำนวนภาษากับการสื่อสารสำนวนภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร

1. สำนวนภาษาสามัญ สำนวนภาษาสามัญ หรือสำนวนทั่วไป เป็นสำนวนภาษาสุภาพที่ใช้ในเรื่องทั่วๆไป

2. สำนวนภาษาการประพันธ์ สำนวนภาษาการประพันธ์เป็นสำนวนภาษาที่มุ่งให้เกิดความสะเทือนอารมณ์หรือใช้ตามแบบฉบับร้อยกรอง อาจปนสำนวนสามัญบ้าง

3. สำนวนภาษาสื่อมวลชน สำนวนภาษาสื่อมวลชนเป็นสำนวนภาษาที่มีสื่อมวลชนนิยมใช้ เช่น “ต่อข้อถาม” แทน “ถาม” ,ใช้ “เปิดเผย” แทน “แถลง” หรือ “ชี้แจง”



ลักษณะของภาษา

1. การเรียบเรียง ภาษาระดับพิธีการและทางการจะเรียบเรียงอย่างเป็นระเบียบ ระดับกึ่งทางการ สนทนา และกันเองหย่อนความเป็นระเบียบลงตามลำดับ

2. กลวิธีการนำเสนอ ภาษาระดับพิธีการ และทางการ นำเสนออย่างกลาง ๆ ไม่เจาะจงว่าผู้ใดเป็นผู้รับสาร ถ้าจำเป็นต้องกล่าวก็กล่าวในฐานะเป็นผู้แทนของกลุ่มบุคคล หรือกล่าวในนามของตำแหน่งนั้น ๆ ภาษาระดับกึ่งทางการอาจมีการนำตัวเองเข้าไปเกี่ยวข้องได้บ้าง ส่วนระดับภาษาระดับสนทนาและกันเองนั้นสื่อสารระหว่างบุคคลกับบุคคล

3. ถ้อยคำที่ใช้ สรรพนามที่ใช้ระดับพิธีการ ทางการ และกึ่งทางการ ใช้ข้าพเจ้า กระผม ผม ดิฉัน ท่าน ระดับสนทนาและกันเอง ใช้สรรพนามต่างๆ กันได้มาก และอาจใช้นามแทนสรรพนามก็ได้ เช่นใช้ชื่อเล่น เป็นต้น คำนามที่ใช้แตกต่างกันไปตามระดับภาษา เช่น

ระดับพิธีการและทางการระดับกึ่งทางการลงมา

งานมงคลสมรสงานแต่งงาน

โรงภาพยนตร์

โรงหนังดวงตรา

ไปรษณียากรแสตมป์

วิธีการใช้ถ้อยคำ


วิธีการใช้ถ้อยคำการใช้ถ้อยคำสำนวนให้มีประสิทธิผล คือ การใช้ถ้อยคำสำนวนที่ทำให้ผู้ฟังเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตรงตามความมุ่งหมายของเรา ซึ่งเราจะทำได้เช่นนี้ก็ต่อเมื่อเรามีความรู้ความเข้าใจในเรื่องถ้อยคำสำนวน และฝึกฝนการใช้อย่างมากพอจุดมุ่งหมายสำคัญที่สุดของการใช้ถ้อยคำคือช่วยสื่อสารกันได้อย่างมีประสิทธิผล ทั้งนี้เราต้องเข้าใจความหมายของถ้อยคำ และวิธีการใช้ถ้อยคำ

ความหมายของถ้อยคำ
1.1 ความหมายเฉพาะของคำ อาจมีได้หลายความหมาย แยกพิจารณาได้ 2 ทาง คือ ความหมายตามตัวกับความหมายเชิงอุปมาคำหลายคำที่มีความหมายเต็มตัว และความหมายเชิงอุปมา เช่น ดาวล้อมเดือน ความหมายตามตัวคือดวงดาวล้อมรอบดวงเดือน บนท้องฟ้า ความหมายเชิงอุปมาหมายถึงคนที่เป็นบริวารบุคคลที่เด่นที่สุด ณ ที่นั้นความหมายนัยตรงกับความหมายนัยประหวัดความหมายนัยตรงคือความหมายที่ปรากฎในพจนานุกรม ความหมายในประหวัด ความหมายที่จิตประหวัดคิดไปถึงเมื่อได้ยินคำนั้น เช่น น้อยหน่า ความหมายนัยตรงคือผลไม้ชนิดหนึ่งความหมายนัยประหวัดคือลูกระเบิด
1.2 ความหมายเทียบเคียงกับคำอื่นความหมายเหมือนกัน หรือ คำไวยพจน์ เช่น กิน หม่ำ เสวย ฉัน รับประทาน คำนี้ถึงแม้จะมี ความหมายเหมือนกันแต่ก็ใช้แทนกันไม่ได้ทุกบริบท ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระดับภาษา เราต้องพิจารณาเลือกใช้ให้เหมาะสมกับความนิยมในภาษาความหมายตรงข้ามกัน เช่นวิสิงหา - อหิงสา, แฟบ - ฟู, นางฟ้า - ซาตาน, ตื้น - ลึกความหมายร่วมกัน คือมีความหมายส่วนหนึ่งเหมือนกันอีกส่วนหนึ่งต่างกัน เช่น เฉือน ปาด สับ แล่ เจียน ฝาน เฉาะ คว้าน ตัด หั่น มีความหมายส่วนหนึ่งเหมือนคือทำให้ขาดด้วยของมีคม แต่ความหมายส่วนหนึ่งต่างกันคือ เฉือน : เชือดแบ่งเอาแต่บางส่วน ปาด : เอาส่วนที่ไม่ต้องการออกโดยวิธีฝานบาง ๆ สับ : เอาของมีคมฟันลงไปโดยแรงหรือซอยถี่ ๆ ความหมายแคบกว้างต่างกัน เช่น พืช เป็นคำที่ความหมายกว้างกว่าผัก ผัก เป็นคำที่ความหมายกว้างกว่า ผักกาด ผักชี ผักคะน้า เป็นต้น

วิธีการใช้ถ้อยคำการใช้ถ้อยคำให้ตรงตามความหมาย
1.คำที่อาจมีความหมายได้ทั้งนัยตรงและนัยประหวัด ให้ใช้บริบทช่วยบ่งลงไปใช้ชัดเจนว่าต้องการใช้คำนั้นในความหมายนัยใด
2.คำที่ทำให้คนเข้าใจความหมายได้มากกว่า 1 ความหมาย (คำกำกวม)เวลาใช้ต้องระวัง หากจำเป็นควรเติมคำบางคำลงไปเพื่อบ่งความหมายของคำนั้นให้ชัดเจนว่าต้องการใช้ในความหมายใด เช่น เก๋ง ควรใช้ รถเก๋ง เก๋งจีน ให้ชัดเจน
3.คำที่มีความหมายคล้ายคลึงกันหรือมีความหมายร่วมกัน ต้องระวังเลือกใช้ให้แม่นตรงความต้องการ เช่น กล้วยย่าง กล้วยเผา ความหมายไม่เหมือนกัน
4.คำที่มีความหมายเกี่ยวเนื่องกับคำอื่น เช่น คำบุพบททักษณะนาม กริยาช่วย สรรพนาม วิเศษณ์ ที่แสดงการชี้เฉพาะ (นี่, นั่น, โน่น) ต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมการใช้คำให้ตรงตามความนิยมของผู้ใช้ภาษาเดียวกัน คำที่มีความหมายเดียวกัน จะเลือกใช้คำใดแล้วแต่ความนิยม ของผู้ใช้ภาษานั้น เช่น ชุมชนแออัด การจราจรคับคั่ง ผู้คนแน่นขนัด ประชากรหนาแน่นการใช้คำให้เหมาะกับกาลเทศะและบุคคล การใช้ภาษาให้มีประสิทธิผลนั้นนอกจากจะคำนึงถึงความหมายแล้วยังต้องคำนึงถึงระดับภาษาที่ใช้ ให้เหมาะแก่เวลา สถานที่ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล สื่อที่ใช้ในการส่งสาร และควรคำนึงถึงฐานะ ทางบุคคลซึ่งเกี่ยวข้องกับคำสุภาพและราชาศัพท์ด้วยการใช้คำไม่ซ้ำซากจำเจ ถ้าไม่ต้องการเน้นคำใดเป็นพิเศษ ไม่ควรใช้คำนั้นซ้ำหลายครั้งในที่ใกล้กันิ เพราะจะทำให้เกิด การซ้ำคำควรใช้การหลากคำให้เหมาะสมการใช้คำให้เห็นภาพ คือการใช้คำขยายให้เหมาะสมเมื่อเราต้องการแสดงภาพของสิ่งใดให้ผู้รับสารได้ภาพตรงตามภาพในใจของเรา เช่น ผมดำขลับ เมฆดำทะมึน คำขยายเหล่านี้ในภาษาระดับทางการขึ้นไป จะใช้มาก หรือ จัด เท่านั้น

การใช้สำนวนสำนวน หมายถึง ถ้อยคำที่ผูกไว้ตายตัว สลับที่กันหรือตัดคำใดออกไม่ได้ อาจต้องตีความก่อนจึงจะเข้าใจความหมายของ สำนวนนั้นสำนวนมีความหมายครอบคลุมไปถึง คำพังเพย ภาษิต และสุภาษิตเมื่อพิจารณาสำนวนไทยแล้ว จะเห็นได้ว่ามีลัก ษณะเด่นสรุปดังนี้
1. เป็นถ้อยคำที่มีคารมคมคาย กินใจผู้ฟัง
2. ใช้คำกระทัดรัด ไฟเราะรื่นหู
3. ถ้ามีสองวรรค จะมีดุลของเสียงและความหมาย

การพิจารณาสำนวนไทย

1.1 สำนวนที่มีเสียงสำผัส มีจำนวนคำ 4 คำขึ้นไปจนถึง 12 คำ มีทั้งที่ประกอบกันเป็นกลุ่มคำและประโยคที่เป็นกลุ่ม คำ เช่น คลุกคลีตีโมง, นกมีหูหนูมีปีก, ข้าวเหลือเกลืออิ่ม เป็นต้น
1.2 สำนวนที่ไม่มีเสียงสำผัส มีจำนวนคำ 2 คำขึ้นไปจนถึง 8 คำมีทั้งที่ประกอบกันเป็นคำ กลุ่มคำและประโยค เป็นคำ ในลักษณะคำประสม เช่น ตายใจ คว้าน้ำเหลว สร้างวิมานในอากาศ นกยูงย่อมมีแววที่หางการใช้สำนวนไทยให้มีประสิทธิผล ต้องใช้ให้เหมาะแก่กาลเทศะและสถานการณ์ เช่นในสถานการณ์ที่ต้องพูดหว่าล้อมจูงใจผู้คนให้เขาทำตามที่เราต้องการ ใช้สำนวนว่า ชักแม่น้ำทั้งห้า เช่น ลูก ๆ ชักแม่น้ำทั้งห้าให้คุณแม่เห็นประโยชน์ของการไปพักผ่อนสุดสัปดาห์จนคุณแม่ใจอ่อน รับปากว่าจะพาไปหัวหินเสาร์อาทิตย์นี้